การยื่นงบการเงินประจำปี
ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
- ต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ดังนั้นงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี จะต้องยื่นภายในวันที่ 31 พฤษภาคมของปีถัดไป
- บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด
- ต้องจัดทำงบการเงินขึ้นเพื่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบรับรอง แล้วจึงนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ โดยจะต้องจัดให้มีการประชุมเพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ดังนั้น รอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี จะต้องจัดประชุมภายในวันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไป มิฉะนั้นจะมีความผิดโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
- ต้องยื่นงบการเงินภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่
ตารางอัตราค่าปรับการยื่นงบการเงินล่าช้า
- อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน
ลำดับที่ | ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | กรรมการผู้จัดการ/
หุ้นส่วนผู้จัดการ |
รวม |
1 | ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน | 1,000 | 1,000 | 2,000 |
2 | บริษัทจำกัด | 1,000 | 1,000 | 2,000 |
3 | นิติบุคคลต่างประเทศ | 2,000 | 2,000 | 4,000 |
4 | บริษัทมหาชนจำกัด | 2,000 | 2,000 | 4,000 |
5 | กิจการร่วมค้า | 2,000 | – | 2,000 |
- อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 2 เดือนแต่ไม่เกิน 4 เดือน
ลำดับที่ | ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | กรรมการผู้จัดการ/
หุ้นส่วนผู้จัดการ |
รวม |
1 | ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน | 4,000 | 4,000 | 8,000 |
2 | บริษัทจำกัด | 4,000 | 4,000 | 8,000 |
3 | นิติบุคคลต่างประเทศ | 24,000 | 24,000 | 48,000 |
4 | บริษัทมหาชนจำกัด | 24,000 | 24,000 | 48,000 |
5 | กิจการร่วมค้า | 24,000 | – | 24,000 |
- อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4 เดือนขึ้นไป หรือไม่ยื่นงบการเงิน
ลำดับที่ | ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี | กรรมการผู้จัดการ/
หุ้นส่วนผู้จัดการ |
รวม |
1 | ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน | 6,000 | 6,000 | 12,000 |
2 | บริษัทจำกัด | 6,000 | 6,000 | 12,000 |
3 | นิติบุคคลต่างประเทศ | 36,000 | 36,000 | 72,000 |
4 | บริษัทมหาชนจำกัด | 36,000 | 36,000 | 72,000 |
5 | กิจการร่วมค้า | 36,000 | – | 36,000 |
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
การยื่นขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเงินได้
ผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเงินได้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น กรณีเป็นผู้มีเงินได้ ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ เป็นคนต่างด้าว หรือ กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง เว้นแต่ ผู้มีเงินได้ ที่มีเลขประจำตัวประชานชน สามารถใช้เลขประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรอีก
- การยื่นแบบแสดงรายการ
- ผู้มีเงินได้ประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง ยื่นแบบปีละ 1 ครั้ง ยื่นแบบฯภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป
- ผู้มีเงินได้จากการทำธุรกิจการค้าทั่วไป เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (5) ถึง (8) ต้องยื่นแบบปีละ 2 ครั้ง สำหรับเงินได้ ที่เกิดขึ้น 6 เดือนแรก (มกราคม-มิถุนายน) ยื่นภายในวันที่ 30 กันยายน ของทุกปี และสำหรับเงินได้ทั้งปี ยื่นภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป
- ผู้ที่เป็นโสด มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
- ผู้ที่มีคู่สมรส มีเงินได้พึงประเมิน ไม่ว่าฝ่ายเดียวหรือทั้งสองฝ่ายรวมกันเกิน 60,000 บาท
- กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินเกิน 30,000 บาท
เงินได้สุทธิตั้งแต่ | ช่วงเงินได้สุทธิ สูงสุดของแต่ละขั้น | อัตราภาษีร้อยละ | ภาษีแต่ละ ขั้นเงินได้สุทธิ | ภาษีสะสม สูงสุดของขั้น |
1 – 150,000 | 150,000 | ได้รับยกเว้น | ยกเว้น | 0 |
150,001 – 300,000 | 150,000 | 5 | 7,500 | 7,500 |
300,001 – 500,000 | 200,000 | 10 | 20,000 | 27,500 |
500,001 – 750,000 | 250,000 | 15 | 37,500 | 65,000 |
750,001 – 1,000,000 | 250,000 | 20 | 50,000 | 115,000 |
1,000,001 – 2,000,000 | 1,000,000 | 25 | 250,000 | 365,000 |
2,000,001 – 4,000,000 | 2,000,000 | 30 | 600,000 | 965,000 |
4,000,001 บาทขึ้นไป | – | 35 |
*ยกเว้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ.2551 สำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ.2551 เป็นต้นไป และเป็นการคำนวณภาษีตามมาตรา 48 (1) เท่านั้น
*ยกเว้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 575) พ.ศ.2556 สำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ.2556, พ.ศ.2557
*ยกเว้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 576) พ.ศ.2557 สำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ.2558
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย ดังนี้
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่ บริษัทจำกัด, บริษัทมหาชน, ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น เข้ามากระทำกิจการในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคแรก แห่งประมวลรัษฎากร)
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการในที่อื่นๆ รวมทั้งในประเทศไทย (มาตรา 66 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร)
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น กระทำกิจการอื่นๆรวมทั้งในประเทศไทยและกิจการที่กระทำนั้นเป็นกิจการขนส่งระหว่างประเทศ (มาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร)
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย (มาตรา 70)
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย ตามมาตรา 76 วรรคสอง และมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ได้จำหน่ายเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นที่กันไว้จากกำไร หรือถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย (มาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศนั้น มิได้เข้ามาทำกิจการในประเทศไทยโดยตรง หากแต่มีลูกจ้างหรือผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อ ในการประกอบกิจการในประเทศไทย ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับเงินได้หรือผลกำไรในประเทศไทย (มาตรา 76 ทวิ)
- กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางค้า หรือหากำไร โดย รัฐบาลต่างประเทศ, องค์การของรัฐบาลต่างประเทศ และนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ
- กิจการร่วมค้า (Joint Venture)
มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
รอบระยะเวลาบัญชี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้
- รอบระยะเวลาบัญชีโดยทั่วไปตามบทบัญญัติมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเท่ากับ 12 เดือน โดยจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้
- รอบระยะเวลาบัญชีซึ่งน้อยกว่า 12 เดือน กรณีที่กฎหมายยอมให้รอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน ได้มีเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ คือ
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่ จะถือวันเริ่มตั้งถึงวันหนึ่งวันใดเป็นรอบระยะ เวลาบัญชีแรกก็ได้ แต่รอบระยะเวลาบัญชีต่อไปต้องเท่ากับ 12 เดือน
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรจะเห็นสมควรและสั่งอนุญาตซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนจะน้อยกว่า 12 เดือน
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เลิกกันให้ถือเอาวันที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนเลิกเป็น วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
- บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเลิกกัน รอบระยะเวลาบัญชีที่ควบเข้ากันจึงเป็นไปตามข้อ 3 ซึ่งอาจน้อยกว่า 12 เดือน
- กรณีที่บริษัทเลิกกิจการและยังชำระบัญชี ไม่เสร็จ หากมีกำไรสุทธิเกิดขึ้น จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลเพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ถือว่าบริษัทยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้น
- รอบระยะเวลาบัญชีมากกว่า 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีอาจขยายออกไปมากกว่า 12 เดือนก็ได้ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลเลิกกิจการ หากผู้ชำระบัญชี และผู้จัดการไม่สามารถยื่นรายการและเสีย ภาษีได้ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว ถ้าได้ยื่นคำร้องต่ออธิบดีภายใน 30 วันนับแต่วัน ที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก อธิบดีกรมสรรพากรอาจพิจารณาอนุมัติให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีออกไปได้ ซึ่งรอบระยะ เวลาบัญชีรอบนี้อาจเกิน 12 เดือนก็ได้)